 |
|
ปี 2503 พ.ร.บ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503 แบ่งส่วนการกรมตำรวจ เป็นราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค โดย กองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นส่วนราชการบริหารส่วนกลาง มีกองบังคับการตำรวจภูธรเขตประจำเขต 9 เขต คือ กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1-9 ซึ่งกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1 ตั้งที่ จว.พระนครศรีอยุธยา มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและพื้นที่การปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สระบุรี, ปทุมธานี, นนทบุรี, และสมุทรปราการ โดยทุกกองบังคับการฯ มีกองกำกับการตำรวจวิทยาการ, กองกำกับการตำรวจชายแดนเขต และกองกำกับการตำรวจภูธรเขต
|
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ ประกอบด้วย |
|
(1) กองกำกับการ 1 แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกทะเบียนประวัติและจัดกำลัง แผนกสวัสดิการ และแผนกการเงินและพัสดุ |
(2) กองกำกับการ 2 แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกสืบสวนและสอบสวน แผนกศูนย์ร่วมข่าว แผนกสถิติวิจัยและแผนการณ์ และ แผนกคดีและวินัย |
(3) ฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธรชายแดน แบ่งเป็น 4 กองกำกับการ ได้แก่ กองกำกับการกำลังพล,กองกำกับการข่าว, กองกำกับการยุทธศาสตร์และการฝึก และ กองกำกับการส่งกำลังบำรุง |
(4) ฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธรชายแดน แบ่งเป็น 4 กองกำกับการ ได้แก่ กองกำกับการบินลำเลียง, กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ, กองกำกับการสื่อสาร, และกองกำกับการพลาธิการ |
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบังคับการตำรวจภูธรเขต เป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ ได้แก่ กองกำกับการตำรวจภูธรเขต |
|
ปี 2508 พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 ยกเลิก พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2503 โดยส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธร มีส่วนราชการเหมือนกันกับการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจปี พ.ศ.2503 ข้างต้น
|
|
ปี 2515 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 ยกเลิก พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2508 ในส่วนของ กองบัญชาการตำรวจภูธร และกำหนดให้ กองบัญชาการตำรวจภูธร มีส่วนราชการ ดังนี้
|
|
3.1 ฝ่ายอำนวยการตำรวจภูธร มีฐานะเป็นกองบังคับการ แบ่งเป็น 5 กองกำกับการ ได้แก่ |
|
(1) กองกำกับการกำลังพล แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง, แผนกทะเบียนประวัติและจัดกำลัง, แผนกวินัย และแผนกสวัสดิการ |
(2) กองกำกับการข่าว แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการและจัดเก็บเอกสาร แผนกรายงานและกระจายข่าว, แผนกวิเคราะห์ข่าว และ แผนกปฏิบัติการข่าว |
(3) กองกำกับการยุทธการ แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกแผนและยุทธการ แผนกสถิติและวิจัย แผนกปฏิบัติการจิตวิทยา และ แผนกศึกษาและฝึกอบรม |
(4) กองกำกับการส่งกำลังบำรุง แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกพลาธิการ แผนกขนส่งและสื่อสาร แผนกการเงิน และ แผนกการแพทย์ |
(5) กองกำกับการปราบปรามภูธร แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนก 1, แผนก 2, แผนก 3 และ แผนก 4 |
|
3.2 กองบังคับการตำรวจภูธรเขตประจำเขต 9 เขต คือ กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1-9 ซึ่งกองบังคับการตำรวจภูธรเขต 1 ตั้งที่ จว.พระนครศรีอยุธยา มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองใน จว.พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สระบุรี, ปทุมธานี นนทบุรี และ สมุทรปราการ โดยทุกกองบังคับการฯ มีกองกำกับการตำรวจวิทยาการ และกองกำกับการตำรวจภูธรเขต |
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบังคับการตำรวจภูธรเขต เป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ ได้แก่ กองกำกับการตำรวจภูธรเขต |
|
อนึ่ง สำหรับในส่วนของตำรวจภูธรชายแดน และตำรวจภูธรชายแดนเขต ที่เคยเป็นส่วนราชการขึ้นการบังคับบัญชากับ กองบัญชาการตำรวจภูธร ได้แบ่งส่วนราชการใหม่ขึ้นกับราชการบริหารส่วนกลาง มีฐานะเป็นกองบัญชาการ เรียกว่า กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
|
ปี 2519พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2519 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธร และกำหนดให้กองบัญชาการตำรวจภูธร มี 4 กองบัญชาการ ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 4 โดยในแต่ละกองบัญชาการตำรวจภูธร มีส่วนราชการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธร และกองบังคับการกิจการพิเศษตำรวจภูธร โดยกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและพื้นที่ในการปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สระบุรี, ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา ,นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, นครปฐม, ราชบุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสาคร, และสมุทรสงคราม รวม 24 จังหวัด |
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร ประกอบด้วย 4 กองกำกับการ ดังนี้ |
|
1. กองกำกับการกำลังพล แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกทะเบียนประวัติและจัดกำลัง แผนกคดีและวินัย และ แผนกสวัสดิการ |
2. กองกำกับการข่าว แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกรายงานและกระจายข่าว แผนกวิเคราะห์ข่าว และ แผนกปฏิบัติการข่าว |
3. กองกำกับการยุทธการ แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนและยุทธการ แผนกสถิติและวิจัย และ แผนกศึกษาและฝึกอบรม |
4. กองกำกับการส่งกำลังบำรุง แบ่งเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนปฏิบัติการ แผนกพลาธิการ และ แผนกส่งกำลังบำรุง |
|
ปี 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 45 ยกเลิก พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2519 ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธร และกำหนดให้กองบัญชาการตำรวจภูธร มี 4 กองบัญชาการ ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 4 ตามเดิม โดยในแต่ละกองบัญชาการตำรวจภูธร มีส่วนราชการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร กองบังคับการตำรวจภูธร จำนวน 3 กองบังคับการ และกองกำกับการสืบสวนสอบสวน |
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ ดังนี้ |
|
1. กองกำกับการกำลังพล แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกทะเบียนพลแผนกประวัติและจัดกำลัง แผนกวินัย และ แผนกสวัสดิการ |
2. กองกำกับการข่าว แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกรายงานและกระจายข่าว แผนกสถิติคดีอาญาและข้อมูล แผนกวิเคราะห์ข่าว และ แผนกปฏิบัติการข่าว |
3. กองกำกับการยุทธการ แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนอาชญากรรม แผนกแผนรักษาความมั่นคงและปลอดภัย แผนกวิจัยและวางแผนพัฒนา และ แผนกศึกษาและฝึกอบรม |
4. กองกำกับการส่งกำลังบำรุง แบ่งเป็น 8 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนกำลังบำรุง แผนกงบประมาณ แผนกการเงิน แผนกพลาธิการ และ แผนกยานพาหนะและขนส่ง แผนกสื่อสาร และแผนกการแพทย์ |
5. กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและประชาชน แบ่งเป็น 7 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกสถิติวิจัยและวางแผน แผนกมวลชนสัมพันธ์ แผนกกิจกรรมนักเรียน แผนกกิจกรรมเยาวชน แผนกศึกษาอบรมและเผยแพร่ และแผนกควบคุมสงเคราะห์คุ้มครองเด็กและเยาวชน |
สำหรับ กองบังคับการตำรวจภูธร จำนวน 3 กองบังคับการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ซึ่งรับผิดชอบ 24 จังหวัด มีดังนี้ |
|
(1) กองบังคับการตำรวจภูธร 1 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี และ นนทบุรี รวมจำนวน 8 จังหวัด |
(2) กองบังคับการตำรวจภูธร 2 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด รวมจำนวน 8 จังหวัด |
(3) กองบังคับการตำรวจภูธร 3 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมจำนวน 8 จังหวัด โดยในแต่ละกองบังคับการตำรวจภูธร มีส่วนราชการประกอบด้วย กองกำกับการอำนวยการ กองกำกับการสืบสวนสอบสวน และกองกำกับการวิทยาการ |
|
ปี 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 45 ยกเลิก พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2519 ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจภูธร และกำหนดให้กองบัญชาการตำรวจภูธร มี 4 กองบัญชาการ ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 4 ตามเดิม โดยในแต่ละกองบัญชาการตำรวจภูธร มีส่วนราชการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร กองบังคับการตำรวจภูธร จำนวน 3 กองบังคับการ และกองกำกับการสืบสวนสอบสวน
|
|
ฝ่ายอำนวยการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ได้แก่ กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร ประกอบด้วย 5 กองกำกับการ ดังนี้ |
|
1. กองกำกับการกำลังพล แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกทะเบียนพลแผนกประวัติและจัดกำลัง แผนกวินัย และ แผนกสวัสดิการ
2. กองกำกับการข่าว แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกรายงานและกระจายข่าว แผนกสถิติคดีอาญาและข้อมูล แผนกวิเคราะห์ข่าว และ แผนกปฏิบัติการข่าว |
3. กองกำกับการยุทธการ แบ่งเป็น 5 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนอาชญากรรม แผนกแผนรักษาความมั่นคงและปลอดภัย แผนกวิจัยและวางแผนพัฒนา และ แผนกศึกษาและฝึกอบรม |
4. กองกำกับการส่งกำลังบำรุง แบ่งเป็น 8 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกแผนกำลังบำรุง แผนกงบประมาณ แผนกการเงิน แผนกพลาธิการ และ แผนกยานพาหนะและขนส่ง แผนกสื่อสาร และแผนกการแพทย์ |
5. กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและประชาชน แบ่งเป็น 7 แผนก ได้แก่ แผนกธุรการ แผนกสถิติวิจัยและวางแผน แผนกมวลชนสัมพันธ์ แผนกกิจกรรมนักเรียน แผนกกิจกรรมเยาวชน แผนกศึกษาอบรมและเผยแพร่ และแผนกควบคุมสงเคราะห์คุ้มครองเด็กและเยาวชน |
|
สำหรับ กองบังคับการตำรวจภูธร จำนวน 3 กองบังคับการ ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ซึ่งรับผิดชอบ 24 จังหวัด มีดังนี้ |
|
(1) กองบังคับการตำรวจภูธร 1 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี และ นนทบุรี รวมจำนวน 8 จังหวัด |
(2) กองบังคับการตำรวจภูธร 2 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด รวมจำนวน 8 จังหวัด |
(3) กองบังคับการตำรวจภูธร 3 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมจำนวน 8 จังหวัด โดยในแต่ละกองบังคับการตำรวจภูธร มีส่วนราชการประกอบด้วย กองกำกับการอำนวยการ กองกำกับการสืบสวนสอบสวน และกองกำกับการวิทยาการ |
|
ปี 2536พ.ร.ฎ แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2536 ยุบเลิกกองบัญชาการตำรวจภูธร 1 4 และหน่วยงานในสังกัดยุบเลิกการแบ่งเขตตำรวจภูธรจังหวัดทั่วประเทศ ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค จัดตั้งกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1 9 ขึ้น เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ โดยกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบในท้องที่พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี และ นนทบุรี และสมุทรปราการ |
|
ปี 2539พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 ยุบเลิกการแบ่งส่วนราชการ และแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยตำรวจภูธรภาค เป็นราชการบริหารส่วนกลาง มีฐานะเป็นกองบัญชาการ ได้แก่ ตำรวจภูธรภาค 1-9 และมีกองบังคับการอำนวยการ และกองกำกับการสืบสวนสอบสวน โดยตำรวจภูธรภาค 1 มีเขตอำนาจการรับผิดชอบในท้องที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, ชัยนท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, สระบุรี,ปทุมธานี, นนทบุรี และ สมุทรปราการ รวม 9 จงหวัด สำหรับ กองบังคับการอำนวยการ แบ่งเป็น 5 กองกำกับการ ได้แก่ กองกำกับการ 1-5 |
|
ปี 2541 พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่ 17 ต.ค. 2541 |
|
ปี 2548 พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 และ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 โดย ตำรวจภูธรภาค 1-9 ตามสำนักงานตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด แบ่งเป็นดังนี้ |
(1) กองบังคับการอำนวยการ ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ 1-5 |
(2) ตำรวจภูธรจังหวัด ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ กลุ่มงามสืบสวน กลุ่มงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธร |
(3) ศูนย์สืบสวนสอบสวน ประกอบด้วย กลุ่มงานสืบสวน กลุ่มงานสอบสวน กองกับการ ปฏิบัติการพิเศษ กลุ่มงานสวัสิดภาพเด็กฯ |
(4) ศูนย์ฝึกอบรม |
(5) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ |
|